Skip to main content

สำนักงานแรงงาน จังหวัดสระบุรี

แรงงานจังหวัดสระบุรี ร่วมการประชุมมอบนโยบายกระทรวงแรงงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

pll_content_description

     วันที่ 24 พฤศจิกายน 2564 เวลา 09.00 น. นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเป็นประธานการประชุมมอนโยบายกระทรวงแรงงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ณ ห้องประชุม ศ.นิคม จันทรวิทุร ชั้น 5 อาคารกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน โดยผู้บริหารระดับสูงในส่วนกลาง หัวหน้าส่วนราชการในส่วนภูมิภาคและสำนักงาน/ฝ่ายแรงงานในต่างประเทศ ประชุมทางไกลผ่านระบบวิดิทัศน์ทางไกล (video Conference)
     ทั้งนี้ นางสาวแก้วใจ สัจจะเวทะ แรงงานจังหวัดสระบุรี และหัวหน้าส่วนราชการสังกัดกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่หน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงานจังหวัดสระบุรี ได้เข้าร่วมประชุมผ่านระบบวิดิทัศน์ทางไกล (video Conference) ณ ห้องประชุมสำนักงานแรงงานจังหวัดสระบุรี ด้วย
     ซึ่งการประชุมในครั้งนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้มอบนโยบาย ดังนี้
          นโยบายเร่งด่วน 5 ข้อ
                  1.ยกระดับกระทรวงแรงงานเป็นกระทรวงเศรษฐกิจ
                  2.กระตุ้นการจ้างงานตามความต้องการในระบบเศรษฐกิจใหม่ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
                  3.บริหารจัดการแรงงานต่างด้าวอย่างเป็นระบบ
                  4.เร่งรัด ปรับปรุง แก้ไข พระราชบัญญัติประกันสังคมให้สอดคล้องกับบริบทสถานการณ์ปัจจุบันและรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
                  5.ดูแลให้แรงงานและนายจ้างสามารถทำงาน ในสถานการณ์ที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 ได้อย่างปลอดภัยและเป็นปกติสุข
          นโยบายสำคัญ 7 ข้อ
                  1.พัฒนาทักษะแรงงานคุณภาพ เตรียมความพร้อมสำหรับการเปิดประเทศและรองรับเศรษฐกิจใหม่
                  2.บริหารจัดการแรงงานในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ และในอุตสาหกรรมเป้าหมาย
                  3.ต่อยอดการประกอบอาชีพ ยกระดับรายได้ และเศรษฐกิจชุมชน รวมทั้งในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
                  4.ยกระดับการป้องกันและแก่ไขปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงานเพื่อปลดล็อก Tier2 Watch List
                  5.พัฒนา ปรับปรุง และส่งเสริมการคุ้มครองแรงงาน ระบบสวัสดิการ และหลักประกันทางสังคมและยกระดับมาตรฐานความปลอดภัย ชีวอนามัย
                  6.บริหารจัดการแรงงานนอกระบบ แรงงานกลุ่มเปราะบาง แรงงานสูงอายุและคนพิการให้ได้รับสิทธิและความคุ้มครองด้านแรงงาน และหลักประกันทางสังคมอย่างเท่าเทียม ลดความเหลื่อมล้ำและมีคุณภาพชีวิตที่ดี
                  7.พัฒนาระบบฐานข้อมูลด้านแรงงานกระทรวงแรงงาน (Big Data) และบูรณาการข้อมูลภาครัฐเพื่อการบริหาร วางยุทธศาสตร์ด้านแรงงานและหลักประกันทางสังคมอย่างเป็นระบบ
     พร้อมได้เน้นย้ำว่าข้าราชการกระทรวงแรงงานทุกคนต้องไม่เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการการค้ามนุษย์ หากพบหรือได้รับการรายงาน จะดำเนินการทั้งวินัยและอาญาทันที

 

 

****************************

TOP